
CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทั้งหมดในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เปรียบเหมือนกับสมองของคนเรานั่นเองค่ะ เป็นศูนย์กลางในการควบคุมคำสั่ง เรียกได้ว่าถ้าขาด CPU ไป คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานไม่ได้เลยทีเดียว
ประสิทธิภาพในการทำงานก็ยังแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวน ” Core ” ในการทำงาน Generation ของ CPU ว่าเป็นรุ่นใหม่หรือไม่ รหัสต่อท้ายที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมและคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานร่วมกันด้วยค่ะ

AMD และ Intel เป็นค่ายผลิต CPU
Intel : จะให้ประสิทธิภาพที่เน้นไปทางประมวลผลแบบ Core เดียว จึงเน้นการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจง เช่น การเล่นเกมหรือใช้งานโปรแกรมเฉพาะทาง
AMD : ให้จำนวน Core และ Thread ที่มากกว่า จึงเน้นการใช้งานหลายรูปแบบพร้อมกัน เช่น การเปิดหลายโปรแกรมพร้อมกัน หรือเล่นเกมพร้อมกับการสตรีมเกมไปด้วยในเวลาเดียวกัน


Intel : ควรเลือกแบบที่ระบุตัว F ต่อท้ายและใช้การ์ดจอแยก เช่น Intel Core i5-12400F
AMD : สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจะไม่มีตัวอักษรระบุต่อท้ายอยู่แล้ว หากเป็นโน้ตบุ๊กควรเลือกแบบที่ระบุตัว X และใช้การ์ดจอแยก เช่น AMD Ryzen5 7600 หรือ AMD Ryzen5 7600X

CPU ที่มี 5 Core ขึ้นไป สำหรับสายโปรแกรมเมอร์
CPU ที่มี 7 Core ขึ้นไป สำหรับสายตัดต่อ ดีไซน์ หรืองานที่ใช้การประมวลผลสูง
CPU ที่มี 3 – 5 Core สำหรับใช้งานทั่วไป

Clock Speed คือ ความเร็วสัญญาณนาฬิกาวัดจำนวนรอบการทำงานของ CPU ต่อวินาทีโดยทำการวัดในหน่วย GHz โดยจะบ่งบอกว่า CPU จะรับและตีความคำสั่งต่าง ๆ ได้เร็วมากน้อยเพียงใด ซึ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานเสร็จได้เร็วกว่า อาจเหมาะสำหรับสายเกมหรือผู้ที่ต้องการความเร็วและแรงเป็นพิเศษสำหรับงานเฉพาะทาง หากเป็น Intel จะระบุว่าเป็นรุ่น K, X, XE หรือ AMD สำหรับโน้ตบุ๊กที่เป็นรุ่น H, T

Thread : เป็นเหมือนเส้นทางที่ให้ข้อมูลหรือชุดคำสั่งต่าง ๆ สามารถเชื่อมไปยังหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว 1 Core จะมี Thread ประมาณ 1 – 2 ตัว
Gen : Generation ที่บ่งบอกว่า CPU นี้เป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ สำหรับ Intel ล่าสุดตอนนี้อยู่ที่ Gen 13 ยิ่ง CPU ไหนที่มี Gen ล่าสุด หมายถึง มีการใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าและถูกพัฒนากว่า Gen ก่อนหน้า ถึงแม้คุณสมบัติจะเหมือนกันทุกประการ
รู้ข้อมูลเท่านี้ เราก็สามารถเช็ค CPU ได้แล้ว ดู CPU เป็นเลือกคอมโน๊คบุ้คถูกใจไปกว่าครึ่งเลยน๊า